เมนู

9. อุปนิสสยปัจจัย


[832] 1. นิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยยานิกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย
ฯลฯ ตติยมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. นิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยยานิกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
พระอริยะทั้งหลาย เข้าไปอาศัยมรรคแล้ว ยังสมาบัติที่ยังไม่เกิด ให้
เกิดขึ้น, เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว, พิจารณาเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความ
เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ
มรรค เป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา, แก่ธัมมปฏิสัมภิทา, แก่นิรุตติ-
ปฏิสัมภิทา, แก่ปฏิภาณปฏิสัมภิทา, แก่ฐานาฐานโกสัลละ ของพระอริยะ
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
3. อนิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยยานิกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาที่เป็นอนิยยานิกธรรม แล้วให้ทาน ฯลฯ
ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ยังฌาน ยังวิปัสสนา ยังอภิญญา ฯลฯ ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีลที่เป็นอนิยยานิกธรรม ฯลฯ ปัญญา ราคะ
ความปรารถนา อุตุ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติ
ให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธาที่เป็นอนิยยานิกธรรม ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา
ที่เป็นอนิยยานิกธรรม ฯลฯ แก่ความปรารถนา ฯลฯ แก่สุขทางกาย แก่ทุกข์
ทางกาย แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
4. อนิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยยานิกธรรม ด้วย
อำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บริกรรมแห่งปฐมมรรค เป็นปัจจัยแก่ปฐมมรรค ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ บริกรรมแห่งจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรค
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[833] 1. อนิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยยานิกธรรม
ด้วยอำนาจของปุเรชาตปัจจัย
มี 2 วาระ.
พึงกระทำเหมือนอรูปทุกะ.

11. ปัจฉาชาตปัจจัย 12. อาเสวนปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของปัจฉาชาตปัจจัย

มี 2 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[834] 1. นิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่นิยยานิกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นนิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
2. นิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่อนิยยานิกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นนิยยานิกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย
ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.